ศึกษาต่อต่างประเทศ ไม่ยากอย่างที่คิด ค้นหาโรงเรียนสอนภาษากว่า 600 แห่ง ใน 6 ประเทศ

Introduction สำคัญอย่างไรในการสอบ IELTS writing part

21 สิงหาคม 2561 Ielts ทิปส์ reading

ช่วงนี้น้องๆ หลายคน อาจจะกำลังเตรียมสอบทั้ง Toeic Toefl หรือ Ielts ซึ่งแต่ละข้อสอบนี้ก็มีความยาก ง่าย เนื้อหา ที่แตกต่างกัน วันนี้พี่ๆ จาก SI-English จะมา เปิดเทคนิคการเขียน Introduction ในการสอบ IELTS writing part !! ช่วยแนะแนวน้องๆ ที่กำลังจะสอบ Ielts กันค่ะ!

ielts,test

หลักเกณฑ์การให้คะแนน IELTS Writing

• Task Achievement คือ โครงสร้างในการตอบตรงกับความต้องการของคำถาม

• Coherence and Cohesion คือ มีเหตุมีผลและเชื่อมต่อประโยคได้อย่างสวยงาม

• Lexical Resource คือ ใช้คำศัพท์ที่เป็นทางการศึกษา

• Grammatical Range and Accuracy คือ ไวยากรณ์ถูกต้อง

Introduction สำคัญอย่างไร

บางคนอาจจะสงสัยว่าการเขียน Introduction นั้นสำคัญยังไง จะช่วยเพิ่มคะแนนเราได้แค่ไหน ต้องบอกก่อนเลยนะคะ ว่าในการสอบแต่ละพาร์ท ทุกส่วนสำคัญและมีส่วนช่วยเพิ่มคะแนนให้เราได้ทั้งนั้น Introduction ในพาร์ท Writing เปรียบเสมือนประตูบานแรกที่คณะกรรมการตรวจจะพบก่อนสิ่งอื่น เขาจะอ่าน Introduction ก่อนและจะคาดหวังถึงเนื้อหาถัดไป ซึ่งถ้าเราสร้างความประทับใจแรกพบจากคณะกรรมการผู้ตรวจข้อสอบได้ ก็จะทำให้ได้คะแนนในส่วนที่เหลือง่ายขึ้น

โครงสร้างของ Introduction 

  • Paraphrase the question คือ การแปลความคำถาม
  • Thesis statement คือ ระบุใจความหลักของเรื่อง

เทคนิคการเขียน Introduction

  • เขียนให้ตรงประเด็นตามประเภทของโจทย์คำถาม เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นจุดเริ่มต้นแรกของการทำข้อสอบ IELTS Writing อ่านคำถามให้เข้าใจ แล้วตอบให้ตรงคำถามมากที่สุด โดยรูปแบบในการตอบจะต้องมีโครงสร้างที่เป็นไปตามประเภทของคำถาม เช่น หากเป็น Writing Task I จะต้องวิเคราะห์เปรียบเทียบและสรุปข้อมูลที่ได้มาในรูปแบบของแผนภูมิต่างๆ อาจจะเป็น Line Graph, Bar Chart, Table เป็นต้น โดยไม่ต้องใส่ความคิดเห็นส่วนตัวของเราลงไป และถ้าเป็น Writing Task II เจอคำถามประเภท Discussion มักจะมีมาในรูปแบบของ 2 ฝ่าย ให้เราแสดงความคิดเห็นในเรื่องนั้น รูปแบบในการเขียนต้องเป็นไปถามแนวทางของคำถามอย่างชัดเจน ต้องเขียนถึงความคิดเห็นในมุมตรงกันข้ามของทั้ง 2 ฝ่าย แล้วแสดงให้เห็นว่าเราเห็นด้วยกับฝั่งไหนหรือคิดเห็นอย่างไร
  • เน้นตอบคำถามตรงประเด็นและเป็นเหตุเป็นผล หลายคนมักจะตอบคำถามโดยไม่ตรงประเด็นต่อคำถาม หรืออธิบายแบบไม่เป็นเหตุเป็นผล ซึ่งทำให้เราเสียคะแนนในเรื่องความชัดเจนหรือเป็นเหตุเป็นผลในการตอบ
  • ฝึกทำ Paraphrase และเข้าใจ Introduction ของโจทย์ Writing ทั้ง 2 พาร์ท ไม่ต้องพยายามเปลี่ยนรูปประโยคให้ยาว หรือเปลี่ยนคำศัพท์ที่ดูยาก ใน บทนำ Introduction มากเกินไป เพราะมันอาจจะทำให้น้องๆ เสียเวลา และเหลือเวลาน้อยในการเขียนเนื้อหา(Body)และ สรุป(Conclusion) ซึ่งที่จริงแล้วก็ไม่ผิดค่ะ ถ้าเรามีความสามารถขนาดนั้นในเวลาที่จำกัด แต่ถ้าไม่ใช่ จากที่จะได้คะแนนเยอะก็อาจจะทำให้โดยตัดคะแนนเพราะผู้ตรวจอ่านแล้วงง ไม่เข้าใจ
  • วางสัดส่วนของเนื้อหาที่เขียนให้เหมาะสม  การวางสัดส่วนในการเขียนในแต่ละส่วนนั้นถือว่ามีความสำคัญต่อหลักจิตวิทยาในการให้คะแนน เช่นหากเราเขียนส่วนใดส่วนหนึ่งเยอะกว่าส่วนอื่น เป็นไปได้สูงว่าผู้ตรวจอาจจะเกิดความรู้สึกถึงงานเขียนของเรามีแนวโน้มที่จะออกมาไม่ดี ก่อนที่จะเริ่มอ่านในส่วนถัดๆ ไปด้วยซ้ำ เพียงได้เห็นสัดส่วนเนื้อหาแต่ละส่วนที่ไม่เหมาะสม และการเขียนจำนวนคำมากๆ ก็ไม่ทำให้ได้คะแนนสูงเสมอไป  ในส่วนของการเขียนรายงานข้อมูล (Task I) จำกัดจำนวนคำอยู่ที่ประมาณ 160 ถึง 200 คำ และในส่วนของเรียงความ (Task II) จะอยู่ที่ประมาณจำนวน 260 ถึง 280 คำ ถ้าเขียนได้ตรงประเด็นและถูกต้องตามรูปแบบ คำศัพท์และไวยากรณ์ถูกต้อง ก็สามารถทำคะแนนได้ดีแน่นอน
  • เขียนเนื้อหาสอดคล้อง เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน  เรื่องของความเชื่อมโยง ต่อเนื่องของรูปประโยคแต่ละประโยคที่เขียนต่อๆ กันไป บางคนอาจจะละเลย และมักจะคิดไปเองว่าเขียนแบบนี้เจ้าของภาษาก็น่าจะเข้าใจ แต่ความจริงแล้วการขาดคำเชื่อมหรือคำนำหน้าประโยคที่ควรจะมีบางคำก็สามารถทำให้ไม่เข้าใจเนื้อหาโดยรวมได้ เพราะไม่แน่ใจว่าต้องการจะสื่อไปในทางไหน

ปัญหาที่พบในการเขียน Introduction

  • พูดถึงแต่เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับหัวข้อที่ต้องเขียนเรียงความ Introduction เหล่านี้ มักจะขึ้นต้นด้วย

– At present แปลว่า ในปัจจุบันนี้

– In present day society แปลว่า ในสังคมปัจจุบันนี้

และตามด้วยข้อมูลทั่วๆ ไปเกี่ยวกับหัวข้อเรียงความ ผู้ตรวจข้อสอบมักจะมองข้อความเหล่านี้ว่ายืดเยื้อ เวิ่นเว้อ เราควรจะตอบคำถามพวกนี้ให้ลึกกว่าการมานั่งเวิ่นเว้อ ใช้คำพรร่ำเพรื่อให้ข้อมูลทั่วไปในหัวข้อนี้

  • ไม่ระบุใจความหลักของเรื่อง Introduction คือส่วนที่สำคัญที่สุดในการเขียนบทความ น้องๆ บางคนอาจจะตื่นเต้น นอนน้อย หรือเบลอ จนลืมเขียนใจความหลักของเรื่องที่เราจะเขียน จุดนี้อาจจะทำให้โดนหักคะแนนได้
  • ไม่มีการระบุโครงเรื่องของเนื้อหา หากเราไม่ได้ระบุไว้ใน Introduction ว่าเราจะนำเสนอเรื่องอะไรในเนื้อหาเรียงความ หรือในส่วนของ Body ผู้ตรวจก็จะไม่ทราบว่าจริงๆ แล้ว ประเด็นหลักของเราคืออะไร ทำให้จุดยืนไม่เคลียร์
  • พยายามดึงความสนใจจากผู้อ่านมากจนเกินไป การสอบข้อเขียน IELTS ไม่ใช่การเขียนงานทั่วๆ ไป ไม่ควรพยายามดึงความสนใจของผู้อ่านด้วยการบรรยาย พรรณนาอะไรมากไป  IELTS essay มีความเป็นวิชาการ บ่อยครั้งที่บางคน พยายามทำให้ประโยคต่างๆ ยาวเท่าที่จะยาวได้ โดยเข้าใจว่า จะทำให้ essay ของเราดูดี ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าประโยคยาวไป จะทำให้หาประเด็นหลักๆ ยากยิ่งขึ้นต่างหาละค่ะ
  • เขียนด้วยภาษาไม่เป็นทางการ ภาษาพูด ภาษาแสลง ควรเขียน Introduction โดยใช้ภาษาถูกต้อง ถูกไวยากรณ์ และ ใช้คำที่สื่อความหมายชัดเจนค่ะ ไม่ควรใช้คำสแลง หรือภาษาพูด

ทราบข้อมูลเบื้องต้นกันไปแล้ว ลองเขียน Introduction กันดูก่อนที่จะไปสอบจริงก็ดีนะคะ เพื่อเป็นการฝึกซ้อม จะได้เกิดความเชี่ยวชาญ และสำหรับน้องๆที่สนใจเรียนภาษาอังกฤษในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นใน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หรือไอร์แลนด์ สามารถมาปรึกษาและขอรับคำแนะนำฟรีจากเรา SI-English ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนภาษา หรือต้องการที่จะฝึกฝนพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อที่จะสอบ IELTS ให้ได้คะแนนสูงๆละก็ เช็ค ข่าวสารโปรโมชั่นคอร์สเรียนภาษาอังกฤษได้เลยค่ะ!

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

การสอบ IELTS TOEIC และ TOEFL แตกต่างกันอย่างไร

คุณรู้จัก Skimming, Scanning และ Details Reading - 3 ทักษะสำคัญในการทำข้อสอบ Reading แล้วหรือยัง

4 เทคนิคการเขียน essay แบบมืออาชีพ

© SI-English | All rights reserved | Privacy Policy