ศึกษาต่อต่างประเทศ ไม่ยากอย่างที่คิด ค้นหาโรงเรียนสอนภาษากว่า 600 แห่ง ใน 6 ประเทศ

รู้จักคำศัพท์และภาษาอังกฤษแบบ UK และ Irish ที่คนไทยและชาวต่างชาติอาจไม่เก็ท!

7 กุมภาพันธ์ 2561 ดับลิน ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร slang

ไอร์แลนด์

เราไม่จำเป็นต้องพูดภาษาท้องถิ่นได้หรือสปีคภาษาไอริชเป็น เพื่อที่จะไปเรียนที่ดับลิน เพราะคนที่นั่นก็ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แถมยังมีโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษชั้นเยี่ยมตั้งอยู่มากมายนับไม่ถ้วน (ดูรายชื่อ โรงเรียนภาษาที่น่าสนใจในดับลิน) แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีความแตกต่างในการออกเสียง วลี และประโยคในการสื่อสารที่อาจนำไปสู่ความสับสน และนี่เป็นเพียงตัวอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้นครับ

1.  ที่ไอร์แลนด์ เรียกร้านขาย Fish and Chips ว่า Chipper

หากเกิดหิวขึ้นมาในเวลาดึกดื่น ที่ที่เราสามารถฝากท้องได้ดีที่สุดในดับลิน คือร้าน Chipper ซึ่งหมายถึงร้านขาย ฟิชแอนด์ชิพ หรือ ปลาทอดกับมันฝรั่งทอดชิ้นใหญ่แบบเฟรนช์ฟรายที่เราคุ้นเคยกันดี นั่นเองครับ (ที่กฤษเรียก Fish & Chips Shop)

ใน UK หากน้องๆ อยากทานอะไรเบาๆ เช่น มันฝรั่งแบบทอดกรอบแผ่นบางๆ หรือขนมจำพวกพวกข้าวเกรียบ แป้งอบกรอบ ที่คนอเมริกันเรียกว่า Chips แล้วละก็ จะต้องเรียกว่า Crisps นะครับ อย่าสับสน จำไว้ให้แม่น Chips คือมันฝรั่งทอดแบบเฟรนช์ฟราย ส่วน Crisps คือมันฝรั่งทอดแบบบางกรอบ

ร้าน Chipper ที่ขึ้นชื่อในดับลิน ที่อยากแนะนำก็อย่างเช่น Leo Burdocks และ Beshoff Bros สำหรับฟิชแอนด์ชิพแสนอร่อย แต่ถ้าอยากแค่หาอะไรทานเล่นๆ ประเภทขนมขบเคี้ยว ต้องไปร้านสะดวกซื้ออย่าง Spar ที่จะมี Crips ให้เลือกหลายยี่ห้อเหมือนเซเว่นบ้านเราแทน

 2. คำว่า “Grand” ที่ไม่ได้แปลว่า ยอดเยี่ยมหรือดีเลิศ

อีกเรื่องหนึ่งที่นักเรียนต่างชาติมักเข้าใจและสับสน นั่นคือคำว่า “Grand” ที่ไม่ได้มีความหมายอย่างที่เราเคยเข้าใจ หากเราถามเพื่อนชาวไอริชสักคนว่า “How are you?” สบายดีไหม หากเขาตอบกลับมาว่า “Oh, I’m grand” นั่นมีความหมายเท่ากับคำว่า “I’m fine” หรือ “I’m okay” แค่นั้น ไม่ได้แปลว่ายอดเยี่ยม หรือ Great แต่อย่างใด งงได้อีก!

3. “Half Seven” แปลว่า เจ็ดโมงครึ่ง!

ถ้านัดกัน แล้วคนไอริชพูดว่า “Let’s meet up at half seven” นั่นหมายความว่า “เจอกันตอนเจ็ดโมงครึ่ง ตอนเช้านะ” ใช่แล้ว ไม่ต้องงง เพราะน้องๆ หลายคนคงคิดเหมือนกันว่า ไอ้ “Half Seven” นี่ตกลงมันแปลว่า  หกโมงครึ่ง (half to seven) หรือ เจ็ดโมงครึ่ง (seven-thirty) กันแน่ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเป็น AM หรือ PM

เอาเป็นว่า คนไอริช เขาไม่พูด “thirty” แต่ใช่คำว่า half มาใส่ไว้ข้างหน้าเวลาแทน เช่น “half seven”, “half ten” และใช้ timetable แบบ 24-hour time หรือนับเวลาแบบ 24 ชั่วโมงแบบคนไทยเป๊ะๆ ไม่ใช้ AM - PM (แบบอังกฤษหรืออเมริกา) ดังนั้นถ้าจะบอกว่า 7.30 PM ก็ให้พูดว่า “Half Nineteen” แทนจ้า

4. อย่าสับสนระหว่าง “Taking a piss” กับ “Taking the piss”

ในสหราชอาราจักร ทั้งเกาะอังกฟษและไอร์แลนด์ ประโยคสองประโยคที่หน้าตาคล้ายๆ กันอย่าง “taking a piss” และ “taking  the piss” เป็นเราก็คงคิดว่ามันมีความหมายเหมือนๆ กัน ต่างกันแค่ใช้ “a” กับ “the” แต่จริงๆ แล้วไม่เป็นแบบนั้นเลย “taking a piss” นั้นจะแปลว่า “ปัสสาวะ” ส่วน “taking  the piss” จะแปลว่า แกล้งเล่น หยอกเย้า ล้อเลียน ทำให้รู้สึกอาย ซึ่งจะมีอีกคำหนึ่งที่คล้ายๆ กัน คือคำว่า “Slagging” ที่แปลว่าหยอกล้อหรือกลั่นแกล้งเช่นเดียวกัน

แต่ไม่ต้องกลัวไป ว่ากันว่า ถ้าคนไอริช “taking  the piss” หรือ “Slagging” ใส่ใครแล้วละก็ นั่นแปลว่าเค้าชอบพอ รู้สึกใกล้ชิดสนิทสนม หรืออาจถึงขั้นแอบชอบเลยก็ได้ แหม มาแนวตบจูบก็ไม่บอก

5. “Craic” คืออะไร? ทำไมจึง “Craic” กันทั้งประเทศ?

นี่คือคำที่น้องที่น้องๆ จะได้ยินแทบจะตลอดเวลาในไอร์แลนด์ พลางสงสัยว่ามันหมายความว่ายังไง จะมีความหมายเดียวกับคำว่า “crack” หรือเปล่า เพราะออกเสียงเหมือน คนไอริชเอะอะอะไรก็ “What’s the craic?” กันตลอดเวลา ไม่ใช่จ้า คำว่า “Craic” ในที่นี้หมายถึง ข่าวคราว เรื่องซุบซิบกอสสิพ เรื่องสนุกๆ บันเทิง เวลาที่เขาทักทายกันว่า “What’s the craic?” ความหมายก็เหมือนกับ “What’s good?”, “What’s going on?” นั่นเอง หรือถ้าใช้เป็นคำอุทาน นั่นก็แปลว่า คนพูดกำลังมีความสุข หรือพึงพอใจครับ

6. คนไอริชเซย์ “No” เป็นมารยาท?

ถ้าเป็นที่อื่นๆ ส่วนใหญ่ เวลามีใครถามว่าจะดื่มอะไรไหม (เช่นเวลาไปเยี่ยมเพื่อนที่บ้าน) เราก็จะตอบตรงๆ ไปเลยใช่ไหมว่าเอาหรือไม่เอา แต่ที่ไอร์แลนด์จะซับซ้อนอยู่หน่อยๆ คือถ้าเจ้าของบ้านหรือเจ้ามือถามเราว่า จะดื่มอะไรไหม ชาหรือกาแฟ ตามมารยาทแล้วเราต้องเซย์ “No, Thank You” ไว้ก่อนนะ จากนั้นก็รอให้อีกฝ่ายถามซ้ำหรือ insist ให้เราดื่มอีกสักสามรอบ ค่อยตอบตกลง อย่ารีบร้อนรับข้อเสนอ ไม่งั้นจะแลดูไม่มีมารยาท! แล้วไม่ใช่แค่เรื่องของกินนะ ทุกเรื่องเลย ถ้ามีคน offer อะไรให้ เป็นมารยาทที่ต้องปฏิเสธก่อนทุกครั้ง หรือแม้แต่ถ้าเราขอร้องเพื่อนให้ช่วยทำอะไรบางอย่างให้ ถ้าได้ยินเพื่อนปฏิเสธกลับมา ก็ให้ลองถามซ้ำๆ อีกสักสองสามรอบ จึงจะได้คำตอบที่แท้จริงครับ (แบบนี้ก็ได้เหรอ)

และนี่ก็คือคำศัพท์และการใช้ภาษาแบบแปลกๆ ของคนไอริช ที่อาจจะแตกต่างจากชาวบ้านเขาไปบ้าง แต่ก็ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจ เพราะถ้ารู้จักไปนานๆ แล้ว จะค้นพบว่า ทำไมไอรืแลนด์จึงเป็นประเทศที่น่าอยู่และผู้คนเป็นมิตรมากที่สุดอีกประเทศหนึ่งครับ

สำหรับใครที่สนใจไปเรียนภาษาอังกฤษที่ประเทศไอร์แลนด์ หรือต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนต่างๆ  สามารถขอรับคำปรึกษาจากพี่ๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนต่อต่างประเทศของ SI-English ได้ฟรี ตั้งแต่วันนี้เลยครับผม

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทำไมถึงต้องไปเรียนภาษาอังกฤษที่ Ireland

Dublin เมืองในฝัน ที่คนอยากเรียนภาษาอังกฤษห้ามพลาด!

เรียนภาษาอังกฤษพร้อมรู้จักวัฒนธรรมผับใน Ireland

© SI-English | All rights reserved | Privacy Policy